![]() |
|||||
ประวัติความเป็นมา ตำบลบางเจ้าฉ่า เป็นชุมชนที่มีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านได้เคยร่วม กับชาวแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ และชาวบางระจัน สู้รบกับทหารพม่า ณ บ้านบางระจัน โดยมี นายฉ่า เป็นผู้นำ นายฉ่านั้น พื้นเพเป็นคนสีบัวทอง ภายหลังการสู้รบยุติลงแล้ว "นายฉ่า" จึงได้ นำชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือน เป็นที่อยู่ อาศัยถาวรขึ้น ในชุมชนด้านทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำน้อย แต่เดิมเรียกว่า "บ้านสร้างสามเรือน" เพราะ เริ่มแรก มีบ้านเพียงสองสามหลังเท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การตั้งเป็นที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีชื่อว่า "บางเจ้าฉ่า" เพราะนำชื่อของ นายฉ่ามาตั้งเป็นชื่อ ซึ่งนายฉ่านั้นเป็นทั้งผู้นำและเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน Histry of Tumbon Bangchaocha Tumbon Bangchaocha has been found since the Ayutthaya Period, the inhabitants in co-ordination with the poeple from Visetchaichan and Bangrajan. led by Nai Cha, had fought with Burmese soldiers at the Bangrajan Village. After the fighting ended, Nai Cha who was born at Sri Bouthong village, persuaded the villagers to settle down on the west side of Noi River. The original village was called "Ban Sang Sam Ruen" as, there were only three houses in the village in the first section. The land's fertilty is suitable to settle down. At persent, the villange is called Bangchacha, which derived from Nai Cha who founded the village and led the people to settle down. ตำบลบางเจ้าฉ่าเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมที่ผลิตเครื่องจักสาน จะมีประชาชนทั่วไปเข้ามาซื้อ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานในแต่ละปีจำนวนมาก ตำบลบางเจ้าฉ่าจึงได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง ในปี พ.ศ. 2541 กลุ่มจักสานบางเจ้าฉ่า ได้ร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ไม้ไผ่ เพื่อเป็นศูนย์กลาง ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก เครื่องจักสานทุกชนิดของหมู่บ้านและเป็นสถานที่รวบรวมเครื่องจักสานนานาชนิดที่ผลิตจากไม้ไผ่ เพื่อศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ดำรง อยู่ต่อไป ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ไม้ไผ่บางเจ้าฉ่า ได้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก ของนักท่องเที่ยวทั่วไปมีการเข้ามาเที่ยวชม ศึกษาดูงานของกลุ่มอาชีพต่างๆ และนักศึกษาจำนวนมาก
บ้านบางเจ้าฉ่าเริ่มดำเนินการจัดการด้านการท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรมตั้งปี 2546 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การนั่ง รถอีแต๋นทัวร์ ชมวิถีชีวิตชุมชนของชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำน้อย ชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล ชมวิธีการผลิต เครื่องจักสานไม้ไผ่ ซึ่งปัจจุบันเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล OTOP ยอดเยี่ยม บริเวณศูนย์กลางของหมู่บ้านยังมี ีพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ไม้ไผ่สำหรับให้นักท่องเที่ยวและเยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ต่อไป รวมถึง การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานในหมู่บ้าน นอกจากนั้นยังมีแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงที่น่าสนใจ เช่น ต้นยางยักษ์ 2 ต้น บริเวณวัดยางทอง สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 200 ปี ถัดมาคือ วัดไชโยวรวิหาร ที่มีการจำลองรูปหล่อสมเด็จโตวัดระฆังฯและ วัดขุนอินท-ประมูล ซึ่งมีพระนอนสมัยสุโขทัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ
ที่ตั้ง การเดินทาง
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำนักงานเกษตรอำเภอโพธิ์ทอง |